วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การทดลองด้านความเป็นพิษของอนุภาคนาโน


ผลงานวิจัยสมาคมเคมีอเมริกา (American Chemical Society: ACS) เผยว่า เขาได้นำถุงเท้าจำนวน 6 คู่ โดยทุกคู่ถูกเคลือบด้วยอนุภาคซิลเวอร์นาโน(เงิน) เพื่อให้มีคุณสมบัติป้องกันแบคทีเรียและกลิ่นอับชื้น ซึ่งผลิตโดยโรงงานต่างๆ มาแช่ในน้ำกลั่นพร้อมทั้งเขย่าต่อเนื่องนาน 1 ชม. จากนั้นนำน้ำที่แช่ถุงเท้าไปตรวจสอบหาอนุภาคของเงิน นักวิจัยพบว่าถุงเท้าที่มาจากแหล่งผลิตต่างกัน มีการปลดปล่อยอนุภาคเงินลงสู่น้ำในปริมาณที่ไม่เท่ากัน ซึ่งบางคู่ก็ปล่อยอนุภาคเงินออกมาจนหมด ขณะที่บางคู่ก็ไม่ปรากฎอนุภาคเงินหลุดออกมาเลย คาดว่าเป็นผลมาจากเทคโนโลยีการผลิต ในการยึดซิลเวอร์นาโนให้ติดอยู่บนเส้นใยของถุงเท้า สรุปคือหากน้ำทิ้งที่มาจากการซักล้างเสื้อผ้านาโนและมีอนุภาคซิลเวอร์นาโนปะปนอยู่ซึมลงสู่ใต้ดิน หรือไหลลงไปรวมกับแหล่งน้ำธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศน์ในแหล่งน้ำได้ ซึ่งเงินที่อยู่ในรูปของไอออนที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำอาจไปรบกวนกระบวนการทาง เคมีในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ นอกเหนือจากแบคทีเรียที่เป็นเป้าหมายในตอนแรกของการผลิตอนุภาคซิลเวอร์นาโน อาจจะผ่านเข้าไปทางเหงือกปลาและทำให้ปลาตายได้

งานวิจัยด้านพิษวิทยาหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นแล้วว่า หากอนุภาคนาโนเข้าสู่ร่างกายทางหนึ่งทางใดแล้ว เช่น จากการหายใจการรับประทาน หรือผ่านทางผิวหนัง อนุภาคเหล่านั้นก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสัตว์ทดลองได้ไม่ว่าจะเป็นความ เป็นพิษต่อตับไตและม้าม เนื่องจากอนุภาคนาโนมีขนาดเล็กจึงเคลื่อนตัวไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ให้ความเห็นว่าสิ่งใดก็ตามที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ก็อาจเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตอื่นได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น