วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนตัวแรก

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนตัวแรก
กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงก็ไม่สามารถที่จะใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าความยาวคลื่นของแสงที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ (ช่วงความยาวคลื่นที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้อยู่ในช่วงประมาณ 400 - 700 นาโนเมตร) ดังนั้นในการที่เราจะสามารถมองเห็นวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าช่วงนี้ได้ จำเป็นที่จะต้องใช้แหล่งที่ให้รังสีแบบอื่นที่มีความยาวคลื่นที่สั้นกว่านี้มาก

ในปี ค.ศ. 1931 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ แมกซ์ โนลล์ (Max Knoll) และเอินสท์ รูสก้า (Ernst Ruska) ได้พัฒนากล้องจุลทรรศ์แบบใหม่ขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ แล้วก็เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่สามารถมองเห็นโลกขนาดเล็กจิ๋วได้มากกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ซึ่งกล้องจุลทรรศน์แบบใหม่นี้เป็นการใช้ลำอิเล็กตรอนแทนลำแสงเดิม


กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนกลายเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นก้าวแรกของการพัฒนาเทคนิคต่างๆ และเครื่องมือที่จะสามารถศึกษาลงไปในระดับนาโนเมตรได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น