วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

คุณสมบัติของ CNTs

ในขณะที่เพชรซึ่งรู้กันดีว่ามีความแข็งแกร่งมากด้วยโครงสร้างโครงตาข่ายสามมิติจากการเชื่อมต่อระหว่างพันธะของอะตอมคาร์บอนที่มีสี่ตำแหน่งอย่างลงตัว ขณะที่โครงสร้างของกราไฟท์นั้นคาร์บอนหนึ่งอะตอมเชื่อมพันธะกับคาร์บอนอีกสามอะตอมในระนาบเดียวกันและอีกหนึ่งพันธะที่เหลือจะยึดกับระนาบถัดไป พันธะในระนาบเดียวกันของกราไฟท์( กราฟีน) มีความแข็งแกร่งมาก( มากกว่าเพชร) แต่พันธะระหว่างระนาบไม่แข็งแรงมากนักและเลื่อนไหลได้ ด้วยลักษณะโครงสร้าง CNTs ดังกล่าวรวมถึงพันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนที่ยาวเพียง 0.14 นาโนเมตร( สั้นกว่าเพชร) จึงทำให้ CNTs แข็งแรงกว่าเพชรและกราไฟท์

ค่าความยืดหยุ่น(Young’s modulus of elasticity) ของ CNTs มีค่าสูงถึง 1 เทอราปาสคาล(Tpa) หรือ 1000 กิกะปาสคาล(Gpa) คงเป็นที่สงสัยว่าขนาดของ CNTs เล็กจิ๋วขนาดนั้นจะวัดได้อย่างไร วิธีการประเมิณค่าความยืดหยุ่นนี้ทำได้หลายวิธีเช่น โดยอาศัย thermal vibration หรือใช้ scanning force microscopy ไปงอ CNTs โดยยึดปลายหนึ่งไว้แล้ววัดการสั่นสะเทือนในสนามไฟฟ้า และมีการใช้ atomic force microscopy (AFM) เพื่องอตรงกลางแท่งนาโนที่วางอยู่บน nanopores เพื่อวัดค่าความยืดหยุ่น


CNTs มีความสามารถด้านการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดง มัดหนึ่งของ CNTs สามารถนำไฟฟ้าได้ถึง 10 9 A/cm 2 ขณะที่ทองแดงได้สูงสุดเพียง 10 6 A/cm2 สมบัติเชิงไฟฟ้าอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจของ CNTs คือ สามารถปลดปล่อยอิเลคตรอนจากปลายของ CNTs ในสภาวะสุญญากาศได้ เมื่อวางอยู่ในสนามไฟฟ้าที่ใช้ค่าศักย์ต่ำกว่า เช่นจะกระตุ้น phosphors ที่วางไว้ห่าง 1 mm ใช้ศักย์ไฟฟ้าเพียง 1-3 V ขณะที่ต้องใช้ศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 50-100 V สำหรับปลายที่เป็นขั้ว molybdenum

การปลดปล่อยอิเลคตรอนจากปลายของแท่งนาโน ค่าการนำความร้อนของ CNTs สูงถึง 2000 W/mK โดยมีบางรายงานกล่าวว่า CNTs มีค่าการนำความร้อนได้ถึง 6000 W/mK เมื่อเปรียบเทียบกับเพชรที่มีค่าการนำไฟฟ้าเพียง 3320 W/mK นอกจากนี้ CNTs ยังทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 2800 ?C ภายใต้สุญญากาศ และ 750 ?C ในสภาวะปกติ คุณสมบัติเหล่านี้เป็นที่น่าสนใจอย่างมากในเชิงกายภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น