วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เก็บสะสมพลังงานแสงอาทิตย์

เก็บสะสมพลังงานแสงอาทิตย์

การนำพลังงานทดแทนมาใช้ มีข้อจำกัดทั้งเรื่องของค่าใช้จ่ายกำลังผลิตที่ต้องอาศัยต้นทุนค่อนข้างสูง และเรื่องมลภาวะ เพราะแหล่งพลังงานทดแทนทางธรรมชาติไม่ว่าจะมาจากแหล่งใด หากนำมาใช้งานก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดของเสีย เช่น ตัวแบตเตอรี่ที่ใช้เก็บพลังงาน เมื่อเสื่อมสภาพก็จะกลายเป็นขยะอันตราย ทำลายสภาพแวดล้อมดังนั้นการนำนาโนเทคโนโลยีมาประยุกต์ ให้เข้ากับพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากมีขนาดเล็ก ทำให้สิ้นเปลืองน้อย และช่วยลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งลดมลภาวะ โดยแนวความคิดนี้ได้มาจากการเลียนแบบจากธรรมชาติ สังเกตจากโครงสร้างสีเขียว (คลอโรฟิลล์ของพืช) ที่มีหลักการทำงานจากโครงสร้างของ ควอนตัมดอท (Quantum Dot)


อาจารย์คณะวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เซลล์แสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) ที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่นี้ ใช้โครงโครงสร้างควอนตัม ดอท ที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีชื่อว่า Molecular Beam Epitaxy (MBE) จุดเด่นของการวิจัย คือ ผลที่ได้รับมีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์สูงถึง 26% ถือว่าสูงเป็น 2 เท่าของเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วไป

ประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในอนาคต เทคโนโลยีนี้ดังกล่าวเหมาะสำหรับนำไปใช้จริงกับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสง อาทิตย์ขนาดใหญ่ หรือแหล่งพลังงานมหาศาลให้กับดาวเทียมในอวกาศ และมีความเป็นไปได้ในอนาคต จะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้

ที่มาhttp://203.151.217.76/cyberreporter/detail.php?content=45

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น